Kaimook Uttayawalee, . (2006, June 20). สถานภาพเมืองปัตตานีในประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22: ด้านความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น
The History of Pattani during the 22nd Century of the Buddhist Era: The Relation with Japan. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 12(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=355.

สถานภาพเมืองปัตตานีในประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22: ด้านความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น
The History of Pattani during the 22nd Century of the Buddhist Era: The Relation with Japan

ไข่มุก อุทยาวลี
Kaimook Uttayawalee,

Abstract

Pattani during the 22nd century marked a period of taking an important role as a commercial port which was well- known to eastern and westren merchants. For politics and ruling, Pattani was continually led by the Sri Wong Sar dynasty. With a thriving trade and under Pattani Govenor’s self – ruling, the commercial policies between Pattani and foreign traders are free. Especially, eastern merchants who traded in Pattani made Pattani one of the best known tradable lands in South East Asia. The study of the historical relation between Pattani and Japan reveals the economic and political states of Pattani affecting the expansion of the Ayutthaya kingdom which overwhelmed Pattani at the end of the 22nd century.

Keywords : The History of Pattani , The Relation between Pattani and Japan

บทคัดย่อ
พุทธศตวรรษที่ 22 เมืองปัตตานีมีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองท่าการค้าซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปของพ่อค้าชาวตะวันออก และชาวตะวันตก ขณะที่ในด้านการเมืองการปกครองของปัตตานีมีการสืบทอดอำนาจของเจ้าเมืองจากราชวงศ์ศรีวังษา โดยสถานภาพทางการค้าที่รุ่งเรืองและอำนาจการปกครองตนเองของเจ้าเมืองปัตตานีทำให้รูปแบบการดำเนินนโยบายทางการค้าระหว่างปัตตานีกับพ่อค้าต่างชาติเป็นไปอย่างอิสระ และในบรรดาพ่อค้าชาวตะวันออกที่เข้ามาค้าขายกับเมืองปัตตานีพบว่ากลุ่มพ่อค้าชาวญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญทำให้เมืองปัตตานีมีชื่อเสียงด้านการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งหนึ่ง การศึกษาความสัมพันธ์ในประวัติศาสตร์ระหว่างเมืองปัตตานีกับประเทศญี่ปุ่นชี้ให้เห็นบทบาททั้งด้านเศรษฐกิจ และสถานภาพทางการเมืองของเมืองปัตตานี อันจะส่งผลกระทบต่อการขยายบทบาทของอาณาจักรอยุธยาที่มีเหนือเมืองปัตตานีในปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ต่อมา

คำสำคัญ : ประวัติศาสตร์ปัตตานี , ความสัมพันธ์ปัตตานีกับญี่ปุ่น

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=355