และ นวพร หอมจันทร์, ., & and Nawaporn Homchan, <. (2005, November 29). ปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Prince of Songkla University Personnel’s Problems and Needs for Research Support. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 11(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=312.

ปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Prince of Songkla University Personnel’s Problems and Needs for Research Support

ชุติมา มุตตาหารัช และ นวพร หอมจันทร์,

Chutima Muttaharat and Nawaporn Homchan,

Abstract

The objectives of this study were to investigate and compare problems and needs for research support of Prince of Songkla University personnel in terms of knowledge and understanding in doing research, funding; material, equipment, place and personnel; data source; consultant; and time.The samples of this study were 345 Prince of Songkla University personnel. The data were analyzed using frequency, percentage, mode, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA. It was revealed that (1) Overall, the personnel’s problems in doing research was moderate. However, time was a problem at high level. (2) Personnel’s overall needs for research support and needs for every item were at high level. (3) Comparison of problems in doing research revealed that personnel with different educational levels and different experience in doing research had different problems, significantly at the .05 level. (4) The comparison, however, showed that the overall needs for research support of personnel with different gender, status, age, educational level, line of work and experience in doing research were not different.

Keywords: problem, need, research Prince of Songkla University personnel, research need, research problem, research support

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในด้านความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัย ด้านการเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ สถานที่และบุคลากร ด้านแหล่งข้อมูล ด้านที่ปรึกษา ด้านเวลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยได้แก่ข้าราชการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และพนักงานมหาวิทยาลัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรมีปัญหาในการทำวิจัยในภาพรวม และด้านความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัย ด้านการเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ สถานที่และบุคลากร ด้านแหล่งข้อมูล และด้านที่ปรึกษา อยู่ในระดับปานกลาง (2) บุคลากรมีความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัยทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน (3) การเปรียบเทียบปัญหาในการทำวิจัยในภาพรวมพบว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำวิจัยต่างกัน มีปัญหาในการทำวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) การเปรียบเทียบความต้องการการสนับสนุนการทำวิจัยในภาพรวมพบว่า ผู้ที่มีเพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา สายงาน และประสบการณ์ในการทำวิจัยต่างกัน มีความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัยไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: ปัญหา, ความต้องการ, การวิจัย, บุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ความต้องการการวิจัย, ปัญหาการวิจัย, การสนับสนุนการวิจัย

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=312