เยาวนิจ กิตติธรกุล, .,
Jutarat Boonyanuwat, ., & and Somyos Thungwa, J. (2005, August 18). กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโครงการสงขลาเมืองน่าอยุ่ของเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
The Process of Promoting Public Participation for Sustainable Development in a City: The Case Study of Songkhla Healthy Cities Project, Songkhla Municipality, Songkhla Province, Thailand. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 11(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=290.

กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโครงการสงขลาเมืองน่าอยุ่ของเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
The Process of Promoting Public Participation for Sustainable Development in a City: The Case Study of Songkhla Healthy Cities Project, Songkhla Municipality, Songkhla Province, Thailand

จุฑารัตน์ บุญญานุวัตร์ เยาวนิจ กิตติธรกุล,
และ สมยศ ทุ่งหว้า
Jutarat Boonyanuwat,
Jawanit Kittitornkool and Somyos Thungwa,

Abstract

This article is to present the process of promoting public participation in the Songkhla Healthy Cities Project of Songkhla Municipality, as well as the primary outcomes of the project. Both qualitative and quantitative research methods were employed to identify factors and conditions contributing to and obstructing the process. Three specific areas with different characteristics were selected for the qualitative research approach, which includes participant observation and interview. The promoting process comprised three main stages: (1) forums for developing a common understanding among community leaders and members, (2) project implementation, and (3) project evaluation. Factors related to the community participation include socio-economic characteristics of urban dwellers, bureaucratic administration and mechanisms of the project, and backgrounds and social conditions of the community leaders and their communities. A step-wise regression method was used to analyze data derived from questionnaires of 206 households in the project area. Factors contributing to the low level of community participation are: the roles of community leaders and committees, the reception of information concerning the project, the motivation of project participation, and the duration of residency (R2 = 0.701). However, as the project did not take the community capital into account, the project achievement was limited.

KeyWords: Healthy Cities, public participation, Songkhla Municipality, urban management

บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการวิจัย ซึ่งมุ่งศึกษาแนวทางการสร้างกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการสงขลาเมืองน่าอยู่ ผลเบื้องต้น และปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เริ่มต้นด้วยศึกษาแนวทางการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ในพื้นที่จำนวน 3 ซอย การสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การจัดเวทีเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างสมาชิกชุมชนและผู้นำ (2) การดำเนินงาน และ(3)การติดตามประเมินผล ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของคนเมือง การบริหารจัดการ กลไกของภาครัฐ รวมทั้งเงื่อนไขของชุมชนและองค์กรที่เเกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise method) จากข้อมูลแบบสอบถามจาก 206 ครัวเรือน พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ บทบาทของผู้นำและคณะกรรมการซอย การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจในการมีส่วนร่วม และระยะเวลาการอยู่อาศัยในชุมชน ส่วนข้อจำกัดในกระบวนการนี้คือไม่ได้มีการค้นหาทุนชุมชน

คำสำคัญ: การจัดการเมือง, การมีส่วนร่วมของประชาชน, เทศบาล, เมืองน่าอยู่

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=290