ณ เชียงใหม่, . (2004, December 14). การสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ สงขลา. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 1(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=237.

การสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ สงขลา

ณรงค์ ณ เชียงใหม่, ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยนี้เป็นการสำรวจความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ขับขี่รถยนต์ต่อการใช้เข็มขัดนิรภัยจำนวน 112 ราย ภายในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ สงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 3 พฤษภาคม 2536 โดย ใช้วิธีสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาแยกตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ พบว่ากลุ่มที่มีความรู้เกี่ยวกับเข็มขัดนิรภัยน้อยมากได้แก่ กลุ่มที่มีอายุ 41-50 ปีคิดเป็นร้อยละ 12.12 กลุ่มระดับการศึกษาประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 16.67 กลุ่มอาชีพรับจ้างคิดเป็นร้อยละ 28.56 ในจำนวนรถยนต์ที่ติดเข็มขัดนิรภัยแล้ว จำนวน 67 คัน พบว่าผู้ขับขี่ที่ไม่ใช้เข็มขัดนิรภัยเลยได้แก่ผู้ที่มีการศึกษาระดับศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษา ส่วนระดับ ปวช. ปวส. ใช้บางเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 96.55 กลุ่มอาชีพรับจ้าง ค้าขายและประกอบธุรกิจส่วนตัวมีอัตราการไม่ใช้เข็มขัดนิรภัย คิดเป็นร้อยละ 100.00 100.00 และ 83.33 ตามลำดับ การรณรงค์ควรจะเน้นด้านพฤติกรรมไปยังกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของการให้ความรู้ ความเข้าใจ และควรจะต้องใช้กฎหมายมาบังคับด้วย คำสำคัญ : เข็มขัดนิรภัย ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม กลุ่มอายุ กลุ่มอาชีพ กลุ่มคุณวุฒิ This research is a survey on baseline data of knowledge, attitudes and behavior among car-drivers relating to seatbelt use in Hat Yai Municipality, Songkhla from June 1-31, 1993. It was conducted by using interview questionaires. The study was reported according to age groups, educational level groups, and professional groups. The results of the study showed following interesting baseline data. The groups that knew very little about seatbelt use were those aged 41-50 years, those with primary-school education and employees with the percentage of 12.12, 16.67, and 28.56 respectively. The sixty-seven car-drivers who already had seatbelts but never used them were the primary-school education group, the secondary-school education group, and the high-school education group with the percentage of 100.00, 100.00 and 83.33 respectively. The strategic campaign for sustainable behavior change for seatbelt use needs more education, law enforcement and holistic problem-solving. Keywords : seatbelt, knowledge, attitude, behavior, age group, professional group, educational group

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=237