ทองคำ, ., สินประจักษ์ผล, ., แซ่จิว, ., พจนตันติ, ., & ดุลยรักษ์, . (2004, December 8). การประเมินโครงการรับนักเรียนไทยมุสลิมเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 2(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=227.

การประเมินโครงการรับนักเรียนไทยมุสลิมเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปราณี ทองคำ,
วิธาดา สินประจักษ์ผล,
เล็ก แซ่จิว,
ณัฐวิทย์ พจนตันติ,
บัณฑิต ดุลยรักษ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการรับนักเรียนไทยมุสลิมเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินจำนวน 1,037 คน ได้แก่ นักเรียนไทยมุสลิมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา) ศิษย์เก่าจากโครงการ นักเรียนและอาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินพบว่า 1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ : นักเรียนไทยมุสลิมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 57) ไม่สนใจเข้าเรียนในโครงการนี้ ทั้งนี้ความสนใจเข้าเรียนในโครงการของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักเรียน ประเภทของโรงเรียนและจังหวัดที่ตั้งโรงเรียน ส่วนนักเรียนทั่วไปในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่ดีต่อโครงการ 2. ด้านปัจจัยเบื่องต้นของโครงการ : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์ได้รับอัตรากำลังอาจารย์จากการดำเนินโครงการ 30 อัตรา ส่วนงบประมาณด้านอื่น ๆ ไม่ได้รับการสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษนักเรียนในโครงการประมาณ 2 ใน 3 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้อนต้นจากโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไปส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปัตตานี บิดามารดามีอาชีพเกษตรกรรม 3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดการเรียนการสอนนักเรียนในโครงการเช่นเดียวกับนักเรียนปกติทั่วไป มีการสอนซ่อมเสริมเฉพาะกลุ่มนักเรียนในโครงการที่มีปัญหาด้านการเรียนเนื่องจากความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ 4. ด้านผลผลิตของโครงการ : ศิษย์เก่าจากโครงการนี้มีความคิดเห็นที่ดีต่อโครงการ รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นนักเรียนในโครงการ มีความเห็นว่าโครงการนี้ช่วยเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามากขึ้น นักเรียนจากโครงการร้อยละ 95 ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา คำสำคัญ : การประเมนโครงการ นักเรียนไทยมุสลิม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รูปแบบการ ประเมินแบบซิปป์ The purpose of this research was to evaluate the project for recruiting Thai Muslim students into the Demonstration School, Prince of songkla university which had been started since 1983. The evaluation was done by using CIPP Model. The study population were 1,067 subjects who were Thai Muslim student at the Mathayomsuksa three level and administrators from secondary schools in the southern border province (Yala, Pattani, Narathiwat, Satoon, and Songkla), alumni from the project, students and teachers in the demonstration School, Prince of Songkla University. Data were collected by using by using questionnaires. Statistics employed in the data analysis were frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, mode, Chi-square and content analysis. The results were as follow : 1. Context evaluation : More than half of the Thai Muslim students at the Mathayomsuksa three level in the southern border provinces (57%) were not interested in pursuing their education under this project. Their interest in getting involved in the project was found to associate with the level of the grade point average (GPA), type of schools, and the locations of the schools. Most of the student in the Demonstration School and administrators from secondary schools in the southern border provinces had positive opinion towards the project. 2. Input evaluation : The Demonstration School had gained 30 additional instructional positions since the implementation of the project. No special financial support was found. Two-third of the students in the project graduated from the lower secondary level in public schools. Most of them were from Pattani and had parents doing agricultural work. 3. Process evaluation : The Demonstration School offered the students in the project the same educational plan as that provided for ordinary students. There were some remedial tutoring groups for the project students with academic problems. 4. Product evaluation : Alumni of this project were positive towards the project. They were proud to be parts of it. They viewed the project as an aid to help provide readiness for their further study at the higher level. About 95% of these alumni pursued higher education. Key Word : project evaluation, Thai Muslim students, the Demonstration School, Prince of Songkla University, Southern Border province, The Southern Border Provinces Administrative Center, CIPP Model

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=227