สิริวิพัธน์, . (2004, December 1). ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 2. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 4(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=214.

ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 2

สุนิสา สิริวิพัธน์, ภาควิชาโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 2 เปรียบเทียบลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนจำแนกตามเพศ ระดับขั้นและการ อบรมเลี้ยงดู รวมทั้งศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนเพื่อลักษณะมุ่งอนาคตกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 2 จำนวน 769 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูและแบบสอบถามลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) การทดสอบเอฟ (F-test) จากเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบภายหลังด้วยวิธี Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 2 มีลักษณะมุ่งอนาคตอยู่ในระดับมาก 2. นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 2 เพศชายและเพศหญิงมีลกัษณะมุ่งอนาคตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศหญิงมีลักษณะมุ่งอนาคตสูงกว่าเพศชาย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายมีลักษณะมุ่งอนาคตไม่แตกต่าง ในด้านตัวแหรการบอรมเลี้ยงดูนักรเยนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูต่างกันจะมีลักษณะมุ่งอนาคตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย จะมีลักษณะมุ่งอนาคตสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวด และแบบปล่อยปละละเลย 3. นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ร้อยละ 98.70 มีความเห็นว่า ลักษณะมุ่งอนาคตจำเป็นต่อนักเรียนมีเพียงร้อยละ 1.30 ที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็น จากที่เรียนมามีนักเรียนร้อยละ 87.65 เห็นว่ามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมลักษณะมุ่งอนาคต มีร้อยละ 12.35 ที่เห็นว่าไม่มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทางด้านนี้ นักเรียนมีข้อเสนอแนะให้มีสื่อและอุปกรณ์ประกอบการสอนที่ทันสมัย มีการแนะแนวเรื่องการศึกษาต่อและ จัดให้มีการเรียนการสอนและทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมลักษณะมุ่งอนาคตให้จริงจังมากขึ้นในทุกระดับชั้น รวมทั้งเพิ่มเติมและเสริมความรู้ วิทยาการสมัยใหม่นอกเหนือจากบทเรียน เพื่อผู้เรียนจะได้ก้าวทันโลก คำสำคัญ : ลักษณะมุ่งอนาคต, นักเรียนระดับมัธยมศึกษา, เขตการศึกษา 2 The purposes of this research were to study the future orientation of students in secondary level in Educational Region 2 by comparing them on the basis of sex, level of their study, and child-rearing practices. The research also intended to study about the organization of learning and teaching processes for future orientation and suggestion. The sample of this study consisted of 769 students in secondary level in Educational Region 2. The instrument used in this research was a questionnaire on the child-rearing practices and the future orientation of students. The data were analysed by using percentage, means standard deviation, t-test, F-test of one way Anova and Scheffe The finding indicated that : 1. The future orientation of students in secondary level in Educational Region 2 was at high level. 2. The future orientation of male and female student in secondary level in Educational Region 2 was found to be significantly different at .05 level. Female student had higher future orientation than male student. Students in lower secondary level and upper secondary level showed no difference in future orientation. Students is secondary level in Educational Region 2 coming from different child-rearing practices were found to be significantly different at .01 level. Students brought up with the democratic child-rearing type had higher future orientation than those who brought up with the controlled child-rearing type and the laissez-faire child-rearing type. 3. 98.70 percents of student in secondary level in Educational Region 2 viewed that the future orientation was essential to them and 1.30 percents viewed that the future orientation wasn’t essential. For the teaching, 87.65 percents of the students agreed that the learning and teaching activities had promoted the future orientation and there were only 12.35 disagreed. The students also suggested that there should be modern teaching and materials and more concern should be given to the providing future-oriented activities in every level. Furthermore, schools should provide the educational guidance, modern knowledge and technology to make the students well-rounded and well-informed. Keywords : future orientation, students in secondary level, Educational Region 2

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=214