ดุลยรักษ์, . (2004, December 1). เจตคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตการศึกษา 2. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 4(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=200.

เจตคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตการศึกษา 2

บัณฑิต ดุลยรักษ์, ภาควิชาโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

เจตคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตการศึกษา 2 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตการศึกษา 2 เปรียบเทียบเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม จำแนกตามขนาดของโรงเรียน เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการเรียนวิชา ส 053 (ประชากรกับสิ่งแวดล้อม) รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตการศึกษา 2 จำนวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และแบบวัดเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที (t-test) ค่าการทดสอบเอฟ (F-test) จากเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way analysis of variance) ทดสอบความแตกต่างของตัวแปรด้วยวิธี Scheffe’s Test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี นักเรียนมีจิตสำนึกต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบ และจะประพฤติปฏิบัติตนในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2. นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน 4. นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. นักเรียนที่เคยเรียนกับไม่เคยเรียนวิชา ส 053 (ประชากรกับสิ่งแวดล้อม) มีเจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน 6. เจตคติ เจตคติเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ คำสำคัญ : เจตคติ, พฤติกรรม, ปัญหาสิ่งแวดล้อม, สิ่งแวดล้อมศึกษา, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, เขตการศึกษา 2 The purposes of this research were to study the attitude, behavioral attitude and behavior towards environmental problems of junior high school students in the Educational Region 2 by comparing them on the basis of sex, school size, studying achievement and taking Population and environment courses and also studying the relationship of attitude, behavioral attitude and behavior towards environmental problems. The sample of this study consisted of 395 junior high school students in the Educational Region 2. The instrument used in this research was a questionnaire on the attitude, behavioral attitude and behavior towards environmental problems. The data was analyzed by using percentage, means, standard deviation, t-test, F-test from one way analysis of variance proceeded by the test on the differences of variance by Scheffe’s and Pearson product moment correlation coefficient. The findings indicated that 1. The attitude, behavioral attitude and behavior towards environmental problems of the students were at good level. The students had awareness on environmental problems, had responsibility and had good deeds in keeping the quality of environment. 2. The attitude, behavioral attitude and behavior towards environmental problems of the students who coming from different school sizes were found to be significantly different at 0.01 level. 3. The attitude, behavioral attitude and behavior towards environmental problems of male and female student showed no difference. 4. The attitude, behavior attitude and behavior towards environmental problems of the students who had low and high studying achievement were found to be significantly different at 0.05 level. 5. The attitude, behavioral attitude and behavior towards environmental problems of the students who studied and never studied Population and Environment courses showed no difference. 6. The attitude, behavioral attitude and behavior towards environmental problems of the students had positive relationship significantly at 0.01 level and had one at low level. Keywords : attitude, behavior, environmental problems, environmental education, junior high school students. Educational Region 2

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=200