เอกปณิธานพงศ์, ., ศิริวัธนนุกูล, ., ปัทมเรขา, ., & ศิริวัธนนุกูล, . (2004, November 10). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 4(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=198.

ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ปกรณ์ เอกปณิธานพงศ์, psu
ยุพินพรรณ ศิริวัธนนุกูล,
เกรียงศักดิ์ ปัทมเรขา, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร
ยุทธนา ศิริวัธนนุกูล, ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐาน ความสัมพันธ์ และผลของปัจจัยทางด้านสังคม การติดต่อสื่อสาร เศรษฐกิจ จิตวิทยากับการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เลี้ยงโคเนื้อลูกผสมที่ตำบลเกาะแต้ว และตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 151 ตัวอย่าง ให้สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วนจากประชากร 189 ราย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อลูกผสมมีการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมในระดับปานกลาง ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติพบว่า การศึกษา การเป็นสมาชิกกลุ่ม การติดต่อสื่อสาร การเดินทางออกนอกถิ่นฐาน ขนาดเนื้อที่ถือครอง รายได้ของครอบครัว แรงงานในครอบครัว ภาวะการกู้ยืม ทัศนคติต่อการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม และแรงจูงใจในการตัดสินใจก่อนการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าสถานนภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคลมีผลต่อการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม สำหรับปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ และทัศนคติที่มีต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุพบว่า มีปัจจัย 4 ประการที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมคือ ขนาดเนื้อที่ถือครอง การติดต่อสื่อสาร แรงจูงใจในการตัดสินใจก่อนการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม และภาวะการกู้ยืม มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) 0.35 คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีผล, การยอมรับ, การเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม The objectives of this study were to investigate the social, communicative, economic and psychological characteristics of farmers who raised crossbred beef cattle; and to the identify correlation between these characteristics and their influences on the farmers’ adoption of crossbred beef cattle. The study area was at Tambon Koh Taew and Tambon Thung Wang, Amphoe muang Changwat Songkhla. A total of 151 out of 189 farmers were interviewed and selected using the proportion stratified random sampling method. The results of this study indicated that the farmers displayed moderate adoption of crossbred beef cattle. In correlation analysis, if was found that the social, communicative, and economic characteristics of farmers such as education, group membership, awareness of relevant information, urban contact, farm holders size, family income, family labour, level of indebtedness, attitude towards the adoption of crossbred beef cattle and level of motivation prior to raising crossbred beef cattle and level of motivation prior to raising crossbred beef cattle had a significant positive correlation with the adoption of crossbred beef cattle. Howerer, the age of farmers and their attitude towards livestock officers had no correlation with the adoption of crossbred beef cattle. Multiple regression analysis revealed that farm holders’ size, awareness of relevant information, level of motivation prior to raising crossbred beef cattle and level of indebtedness significantly (R2 = 0.35) affected the adoption of crossbred beef cattle. Keywords : factors affecting, adoption, crossbred beef cattle

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=198