โขขัด, . (1970, January 1). การศึกษาลักษณะการยอมรับวิทยาการสมัยใหม่ของชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 6(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=183.

การศึกษาลักษณะการยอมรับวิทยาการสมัยใหม่ของชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประยงค์ โขขัด, ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสึกษาลักษณะการยอมรับวิทยาการใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจาก 10 หมู่บ้าน 308 ครัวเรือน ตัวแปรอิสระที่นำมาพิจารณาคือ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ศาสนา และขนาดครัวเรือ ตัวแปรตามคือ ผลิตภัณฑ์และวิธีการ ที่เกิดจากวิทยาการสมัยใหม่ 24 ชนิด ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประเมินค่าเป็นอันดับคุณภาพ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (mean) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีลักษณะการยอมรับวิทยาการสมัยใหม่ในระดับสูงมาก ที่สูงมากเป็นพิเศษคือ ผลิตภัณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ-อนามัย อาหาร-เครื่องดื่ม และอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีลักษณะการยอมรับวิทยาการสมัยใหม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ อาชีพ ศาสนา และขนาดครัวเรือ มีลักษณะการยอมรับไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยสามารถนำไปพิจารณาการให้บริการและจำหน่ายสินค้าของภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการวิจัยทางสังคม-เศรษฐกิจในโอกาสต่อไป คำสำคัญ : ลักษณะการยอมรับ, วิทยาการสมัยใหม่, จังหวัดชายแดนภาคใต้ The purpose of this research was to investigate the level of acceptance of innovation and technology in the southernmost provinces of Thailand. Through multi-stage sampling, 308 samples were selected from ten villages in five provinces: Narathiwat, Pattani, Yala, Songkla, and Satun. Independent variables were age, occupation, education level, religious denomination, and family size; dependent variables were 24 items of innotech products. An interview schedule was used in data collection, and arithmetic mean and ANOVA were used in data analysis. It was found that the samples’ acceptance of innovation and technology was at the highest level. Most accepted by people in this area were health care, food-beverages, and tools innotechs. Different levels of education contributed to different levels of innotech acceptance, significantly at .05. However, differences in age, occupation, religious denomination, and family size contributed to no significant differences in acceptance. These findings can be used in the distribution of goods and services of government and private sectors as well as for other socio-economic researches. Keywords : acceptance, innovation and technology, southernmost provinces of Thailand

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=183