เมฆถาวรวัฒนา, . (2004, October 21). วัจนกรรมการขอโทษในภาษาไทย. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 5(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=167.

วัจนกรรมการขอโทษในภาษาไทย

ทัศนีย์ เมฆถาวรวัฒนา, 13/36 หมู่ 2 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษและความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีดังกล่าวกับน้ำหนักความผิด ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากคำตอบที่ได้จากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคนไทยหลากหลายอาชีพที่อยู่ในสังคมไทย และใช้ภาษาไทยติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันจำนวนทั้งสิ้น 50 คน ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษในภาษาไทยมีทั้งสิ้น 5 กลวิธี ได้แก่ การกล่าวคำแสดงเจตนาในการขอโทษ การยอมรับผิด การกล่าวแก้ตัว การเสนอที่จะชดใช้ และการพยายามทำให้ผู้ฟังรู้สึกพอใจ โดยพบว่ากลวิธีการแสดงวัจนกรรมการขอโทษที่ผู้พูดนิยมใช้มากที่สุดเมื่อกระทำความผิดในทุกน้ำหนักความผิดคือกล่าวคำแสดงเจตนาในการขอโทษ รองลงมาได้แก่ การยอมรับผิด การเสนอที่จะชดใช้ การพยายามทำให้ผู้ฟังรู้สึกพอใจและการกล่าวแก้ตัวตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของกลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษที่พบเมื่อกระทำความผิดที่มีน้ำหนักแตกต่างกัน โดยวิธีการทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผู้วิจัยพบว่าความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากน้ำหนักความผิดดไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการแสดงวัจนกรรมการขอโทษ แต่อาจมีปัจจัยอื่นอีกที่มีผลต่อการแสดงวัจนกรรมการขอโทษ อาทิ ความรู้สึกจำเป็นที่ต้องกล่าวขอโทษ ความรู้สึกเสียหน้าของผู้กระทำความผิดและโอกาสที่จะได้รับการอภัยจากผู้ฟัง นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ความซับซ้อนของกลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษที่พบเมื่อผู้พูดกระทำความผิดที่มีน้ำหนักแตกต่างกัน ผู้วิจัยพบว่าเมื่อกระทำความผิดที่มีน้ำหนักมากผู้พูดไม่จำเป็นต้องใช้กลวิธีที่ซับซ้อนมากกว่าเมื่อกระทำความผิดที่มีน้ำหนักปานกลางหรือน้อยเสมอไป ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่พบว่าความแตกต่างในเรื่องความซับซ้อนที่พบนี้ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากในการแสดงวัจนกกรรมการขอโทษแต่ละครั้งผู้พูดให้ความสำคัญกับการเลือกกลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษมากกว่าที่จะคำนึงถึงความซับซ้อนของกลวิธะแสดงวัจนกรรมการขอโทษ คำสำคัญ : การขอโทษ, ความสุภาพ, วัจนกรรม,วัจนปฏิบัติศาสตร์ This study aims at investigating apologizing strategies in Thai and the relationship between these strategies and the weightiness of the offenses. The data on which the analysis is based are from the questionnaires answered and the interviews of people who are of various occupations, living in Thai society and use Thai in daily communications. The result of the research indicated that there are five apologizing strategies in Thai communication : explicit expression of apology, admitting the offense, siving excuse, offering reparation, and efforts to satisfy. The finding indicated that the great majority of all weighted offenses elicited explicit expression of apology, admitting the offense, offering reparation, efforts to satisfy, and offering excuses respectively. These differences were statistically analyzed using the Analysis of Variance-ANOVA. It was found that the difference was not statistically significant at 0.05 level. This may imply that the apologizing may be affected by other factors such as obligation to apologies, offender’s face-loss or likelihood of apology acceptance. Finally, with regard to the complexity of apologizing strategies among the three weight groups, it was found that when the speaker did heavily weighted offenses, they did not tend to elicit more complex strategies. Corresponding to the result of the statistical analysis using the Analysis of Variance-ANOVA, it was found that the difference was not statistically significant at 0.05 level. This may imply that the speaker puts more concern on the apologizing strategies than the complexity apologizing strategies. Keywords : apologizing politeness, speech act, pragmatics

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=167