โปธิบาล, ., & ตรงดี, . (2004, September 14). แนวแบ่งเขตภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นตากใบ : ภูมิศาสตร์ภาษาถ้องถิ่นของเสียงสระในคำที่ใช้รูปเขียน ใ- และ ไ-. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=103.

แนวแบ่งเขตภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นตากใบ : ภูมิศาสตร์ภาษาถ้องถิ่นของเสียงสระในคำที่ใช้รูปเขียน ใ- และ ไ-

พุทธชาติ โปธิบาล, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ธนานันท์ ตรงดี, ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

ภาษาตากใบเป็นภาษากระกูลไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ที่มีผู้พูดอยู่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และในเขตรัฐกลันตันและตรังกานู ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาภาษาตากใบเฉพาะที่พูดในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เพื่อแบ่งกลุ่มของภาษาตากใบเป็นถิ่นย่อย โดยใช้วิธีการศึกษาแนวภูมิศาสตร์ภาษา และลักษณะทางภาษาที่ใช้เกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มของภาษาตากใบคือ ลักษณะการใช้เสียงสระ [ai] หรือ [a:I] ในการออกเสียงคำที่มีรูปเขียน ใ- และ ไ- ผลการวิจัยพบว่าภาษาไทยถิ่นตากใบสามารถจำแนกเป็น 2 ถิ่นย่อยตามลักษณะการใช้เสียงสระ [ai] หรือ [a:i] ซึ่งแตกต่างกันตามถิ่นย่อย คำที่แสดงลักษณะการใช้เสียงสระดังกล่าวได้แก่ ใหม่ ใหญ่ ใส่ ไก่ ไข่ ไผ่ แนวแบ่งเขตภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นตากใบพาดเป็นแนวตะวันตก-ตะวันออก อยู่ในบริเวณตอนใต้ของจังหวัดปัตตานีและตอนเหนือของจังหวัดนราธิวาส ถิ่นย่อยของภาษาตากใบ 2 ถิ่นย่อย คือ 1) ภาษาตากใบถิ่นย่อยเหนือ เป็นถิ่นที่ใช้เสียงสระสั้น [ai] ได้แก่ ภาษาตากใบทุกถิ่นย่อยในพื้นที่ภาษาตากใบในจังหวัดปัตตานี ยกเว้นภาษาตากใบถิ่นย่อยบ้านสารวัน ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และรวมเอาภาษาถิ่นตากใบย่อยในจังหวัดนราธิวาสไว้ด้วย คือ ภาษาตากใบถิ่นย่อยบ้านเชิงเขา ตำบลปาลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 2) ภาษาตากใบถิ่นย่อยใต้ เป็นถิ่นที่ใช้เสียงสระยาว [a:i] ได้แก่ ภาษาตากใบถิ่นย่อยบ้านสารวัน ตำบลระโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และภาษาตากใบทุกถิ่นย่อยในพื้นที่ภาษาตากใบในจังหวัดนราธิวาส ยกเว้นภาษาตากใบถิ่นย่อยบ้ายเชิงเขา ตำบลปาลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส คำสำคัญ : ภาษาตากใบ, ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น, เสียงสระ, รูปเขียน ใ- ไ- Tak Bai is a Southwestern Tai dialect spoken in certain areas of Changwat Pattani and Changwat Narathiwat, Thailand, and in Kelantan and Terranganu, Malaysia. In this study the Tak Bai dialect in thailand was subgrouped, using the methodology in dialect geography. The subgrouping was based on the pronunciation of the vowels in the words having the orthographic ใ- and ไ-; that is, ใหม่ – ma:j/, ใหญ่ /ja:j/, ใส่ /sa:j/, ไก่ /ka:j/, ไข่ /kha:j/, and ไผ่ /pha:j/. It was found that the boundary between the Tak Bai sub-groups runs from West to East and is in the south of Changwat Pattani and in the north of Changwat Narathiwat. There are two Tak Bai sub-groups: 1) The Northern Tak Bai Sub-groups . The vowels in the 6 words are pronounced short as [ai]. This sub-group includes the Tak Bai sub-dialect of Ban Choeng-Khao, Tambon Palukasamo, Amphoe Bacho, Changwat Narathiwat, and all Tak Bai sub-dialects in Pattani except that of Ban Sarawan, Tambon Talo Krai Thong, Amphoe Mai Kaen. 2) The Southern Tak Bai Sub-grouup. The vowels in the 6 words are pronounced long as [a:i] This sub-group includes the Tak Bai sub-dialect of Ban Sarawan, Tambon Talo Krai Thong, Amphoe Mai Kaen, Changwat Pattani, and all Tak Bai sub-dialects in Changwat Narathiwat except that of Ban Choeng Khao, Tambon Palukasamo, Amphoe Bacho. Keywords : Tak Bai Dialect, Dialect Geography, Vowels, Orthographic ใ- ไ-

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=103